หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาออกแบบสร้างสรรค์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ

หมวดที่ 2 ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

 

1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.1 ปรัชญาของหลักสูตร

 “บัณฑิตสาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์และการออกแบบจากวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นและสากลในรูปแบบร่วมสมัย”

1.2 ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบพัฒนาขึ้นจากฐานความคิดของบริบททางสังคมและปรากฏการณ์ทางศิลปะที่มีพัฒนาการทางแนวคิด และรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยซึ่งภายใต้แนวทางของการพัฒนาประเทศ ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพและรู้เท่ากันกับความเปลี่ยนแปลงและความเจริญทางเทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นให้คนมีความคิดและใช้ความคิดทางสร้างสรรค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือนวัตกรรมต่าง ๆ ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่จะเป็นทางเลือกใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจไทยซึ่งศาสตร์ทางด้านศิลปะและการออกแบบ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ จำเป็นต้องพัฒนาการจัดการศึกษาให้สัมพันธ์กับการพัฒนาประเทศ เพื่อสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งหมายถึงการเรียนรู้เพื่อให้เกิดทักษะที่แท้จริงกับตนเองทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านทักษะชีวิตและการทำงานด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ ซึ่งเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีทักษะความสามารถในการคิดค้น สร้างสรรค์ เพื่อผลิตผลงานทัศนศิลป์และการออกแบบโดยสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีความเข้าใจและตระหนักถึงบทบาทของศิลปะการออกแบบบนฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นและสากล ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม

 

 

 

1.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบต้องการผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่สำคัญดังนี้

1.3.1 มีคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกสาธารณะในสาขาวิชาชีพทางศิลปะและการออกแบบ

1.3.2 มีทักษะความรู้ความสามารถทางด้านทัศนศิลป์และการออกแบบกราฟิกเพื่อการประกอบอาชีพได้

1.3.3 มีทักษะทางปัญญาในการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์และบูรณาการ ในการจัดการทางทัศนศิลป์และการออกแบบผลงานในแบบลักษณะเฉพาะตนได้

1.3.4 มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและสามารถใช้ภาษาและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการสื่อสารและนำเสนอผลงานได้อย่างดี

1.3.5 มีทักษะในการประเมินคุณค่าทางสุนทรียะในผลงานทัศนศิลป์และงานออกแบบได้อย่างมีวิจารณญาณ

 

2. แผนพัฒนาปรับปรุง

แผนการพัฒนา/ เปลี่ยนแปลง

กลยุทธ์

หลักฐาน/ตัวบ่งชี้

  1. ปรับปรุงหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่ สกอ.กำหนด

1. ปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนดโดยอิงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของ สกอ. และจากหลักสูตรในระดับสากล

2. ติดตามประเมินการใช้หลักสูตรตัวบ่งชี้ที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ

1. เอกสารปรับปรุงหลักสูตร

2. รายงานผลการประเมินหลักสูตร

 

  1. ปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น และการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน

 

1. ติดตามการเปลี่ยนแปลงความต้องการของสถานประกอบการในวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง และความก้าวหน้าทางวิชาการ

1. รายงานผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้บัณฑิตของสถานประกอบการ

2. การสำรวจความพึงพอใจในทักษะ ความรู้ความสามารถในการทำงานของบัณฑิต โดยเฉลี่ยในระดับดี

  1. พัฒนาบุคลากรสายวิชาการสายสนับสนุน และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้ได้มาตรฐาน เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการในหลักสูตร

 

1. สนับสนุนบุคลากรสายวิชาการให้ทำผลงานทางวิชาการและศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก

2. สนับสนุนบุคลากรสายสนับสนุน เข้ารับการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ

3. สนับสนุนให้บุคลากร ทำงานวิจัย งานสร้างสรรค์และบริการวิชาการแก่สังคม

 

1. แผนพัฒนาบุคลากรของหลักสูตร

2. รายงานผลการอบรมหรือสัมมนาวิชาการของอาจารย์ในหลักสูตร

3. วุฒิบัตรการอบรมหรือสัมมนาวิชาการ

4. คำสั่งไปราชการเพื่อเข้าร่วมอบรมหรือสัมมนาทางวิชาการ